ผู้กำกับเลี่ยว เค๋อฟา มาจากประเทศมาเลเซียที่พัฒนาแล้ว เคยได้รับรางวัล"
ระฆังทองคำ"และเข้ารอบสุดท้ายในเทศกาลภาพยนต์ทั้งใน,นอกประเทศที่สำคัญ
และได้เข้าร่วมในวิทยาลัยการภาพยนต์ม้าทองคำ ตามติดผู้กำกับโหว เสี้ยวเฉี่ยน เรียนรู้การถ่ายทำภาพยนต์
ตั้งแต่ปี2551 จนถึงปัจจุบันนี้ ได้ถ่ายทำภาพยนต์ "หนู鼠" (2551) "รักในแนวป่า愛在森林邊境"(2552) "
เสียงกระซิบของดอกไม้花開的夜晚" (2555) " เมื่อฝนโปรยปราย雨落誰家"(2555) และ "ไปดูทะเลด้วยกัน一起去看海"(2556)
เป็นต้น
เลี่ยว เค๋อฟาเกิดที่ยะโฮร์บาห์รู(ชินซาน) ประเทศมาเลเซีย ยะโฮร์บารูเป็นเมืองที่เกิดใหม่
มีแรงงานต่างชาติจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากเข้ามาทำงานที่นี่
ตั้งแต่เล็กเขาจึงได้ใช้ชีวิตที่สัมผัสกับแรงงานต่างชาติทุกประเภท
หลังจากนั้นเขาได้ไปเรียนหนังสือที่ประเทศสิงคโปร์.
ในปี2550เขาได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไต้หวัน สาขาการภาพยนต์
เพื่อที่จะทำความฝันการสร้างภาพยนต์ให้สำเร็จ.
เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในมุมมองของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ ห่วงใยเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนไต้หวันพื้นแผ่นดินแห่งนี้
เนื่องมาจากภูมิหลังการใช้ชีวิตในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และไต้หวัน บวกกับประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับแรงงานต่างชาติมาก่อน
ภาพยนต์ "เมื่อฝนโปรยปราย雨落誰家 " และ "ไปดูทะเลด้วยกัน一起去看海"
ภาพยนต์ทั้งสองเรื่องเขาได้บรรยายการใช้ชีวิตของชนชั้นระดับล่างไว้อย่างลึกซึ้งและซ่อนความนัยไว้อย่างน่าสนใจ.
ภาพยนต์ "เมื่อฝนโปรยปราย雨落誰家 " อธิบายถึงเรื่องราวของแรงงานชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งที่มาทำงานในไต้หวัน
"ไปดูทะเลด้วยกัน一起去看海 " เป็นปัญหาของบุตรผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ยอมรับกันอยู่ แสดงให้เห็นถึงมุมมองในหัวข้อที่เลี่ยว
เค๋อฟามีต่อผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติ เลี่ยว เค๋อฟาเห็นว่า "ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ "เป็นหัวข้อที่เกิดขึ้นกันทั่วโลก
ดังนั้นอยากให้เริ่มคิดจากมุมมองของ "คน " สำรวจผู้คนเวลาที่เผชิญหน้ากับการไหลเวียนของประชากรย้ายถิ่นนั้น
เราควรมองเรื่องราวเช่นนี้เป็นอย่างไร.
ความคิดถึงและสถานการณ์ยากลำบากที่แรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศมีต่อบ้านเกิด
สำหรับแรงงานต่างชาติ เขาคิดว่าถึงแม้ว่าในแต่ละประเทศมีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่ทุกๆคนคงเป็นเช่นเดียวกัน วิเคราะห์ได้ว่า
เมื่อเวลาที่คุณต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปทำงานต่างประเทศ ความคิดถึงที่ก่อกำเนิดขึ้นภายในใจ
ไม่ใช่เป็นเพราะหน้าที่การงานสูงต่ำ หรือสัญชาติ ทำให้แตกต่างกัน.
เขาได้ใช้ประสบการณ์ของตัวเองอธิบายถึงความรู้สึกของการใช้ชีวิตในต่างประเทศ เขากล่าวว่า จากบ้านมาไกล มานานมาก บางครั้ง
บ้านเกิดเดิมอันสวยงามที่อยู่ภายในใจ หลังจากที่คุณกลับไปแล้ว อาจไม่ใช่อย่างที่คิดไว้อีกต่อไป หรือพูดได้ว่า
บ้านเกิดที่คุณนึกภาพไว้หรือที่คิดถึงนั้น อาจไม่มีสถานที่แห่งนั้นบนโลกใบนี้แล้ว แต่ถ้าคุณยอมรับ "สถานที่ที่หาไม่พบ "
แม้ว่ายังระหกระเหิน มันก็ยังคงเป็นแค่สัณฐานทางจิตวิญญานเอง.
แน่นอนว่า เขาก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า "แรงงานต่างชาติใหม่ " หรือ "ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ " มีบ้างที่ไม่ใช่เพราะการทำงาน
มีบ้างที่ต้องไปในสถานที่ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อหาแรงบันดาลใจเป็นเพราะงานเขียนและงานถ่ายทำภาพยนต์
แต่แรงงานต่างชาติที่ไปทำงานต่างประเทศ ยังแยกเป็นคนทำงานคอปกขาวและคอปกน้ำเงินอีก
ดังนั้นปัญหาของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่หรือแรงงานต่างชาติ จึงไม่ใช่เป็นสิ่งธรรมดาทั่วไปแค่ชนชั้นระดับล่างเท่านั้น
ยังรวมไปถึงหลายๆระดับชั้นด้วยกัน พวกเขาก็ใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้เลี่ยว เค๋อฟาเห็นว่า
ไม่จำเป็นต้องนำแรงงานต่างชาติมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องให้ความสนใจ แต่ให้ปฎิบัติมองดูพวกเขาเช่นเดียวกับเป็นพ่อแม่
บุตรธิดาของใครสักคนหนึ่ง.
นอกจากนี้ผู้ผลิต เฉิน จิ้งเหลียน กล่าวว่า บนหนังสือพิมพ์และนิตยสารจำนวนมาก
เธอได้เห็นแรงงานต่างชาติจำนวนมากมายที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบาก อาทิทำงานเกินเวลา สิทธิมนุษยชน
ศาสนาเป็นต้น ยังมีในกรณีอื่นๆอีกมากที่แรงงานทนไม่ไหวกับการถูกกดขี่ หลบหนีไปจนถูกตำรวจจับ
สุดท้ายปีนกำแพงหรือกระโดดข้ามอาคาร ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต.
เลี่ยว เค๋อฟายังกล่าวด้วยว่า เขาได้เห็นด้วยตาตัวเอง ในเหตุการณ์ที่แรงงานต่างชาติผิดกฎหมายถูกตำรวจมาเลเซียไล่กวดจับ
เหมือนการไล่จับหมาเร่ร่อนอย่างนั้น ในเวลานั้นเขาตกใจมาก คิดว่าทำไมแรงงานต่างชาติจึงต้องใช้ชีวิตเช่นเดียวกับหมาเร่ร่อนนะ?
การยอมรับในผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สองเป็นการพลิกโอกาสไม่ใช่สถานการณ์ที่ลำบาก
เลี่ยว เค๋อฟารู้สึกว่าการยอมรับในผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สองไม่ใช่เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก "ค่อยๆเรียนรู้เข้าใจในตัวเอง "
ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นปัญหาที่ยากสำหรับบุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เท่านั้น
แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างก็กำลังค้นหาตนเองจากการยอมรับและตำแหน่งในทางสังคม ทั้งยังเรียนรู้เข้าใจว่า "ตัวเองนั้นเป็นใคร "
ดังนั้นสำหรับบุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นที่มาถึงก่อนในการเผชิญหน้ากับปัญหาการยอมรับนี้.
ในทางกลับกัน เลี่ยว เค๋อฟาคิดว่า ปัญหาการยอมรับของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่ง
เพราะพวกเขาจะปฎิบัติต่อสิ่งรอบตัวและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยความละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าช่วงเวลาของการเรียนรู้และการปรับตัวประเภทนี้จะลำบากใช้เวลานานยิ่งกว่าคนในท้องถิ่นเดิม แต่หากเอาชนะได้แล้ว
พวกเขาจะมีมุมมองระหว่างประเทศและความสามารถในการสังเกตุที่เฉียบคมยิ่งกว่าผู้คนที่เติบโตในท้องถิ่นซะอีก
การใช้ภาพเดิมๆและอคติที่มีต่อแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศ
ภายใต้แนวโน้มของกระแสโลกาภิวัฒน์ แรงงานต่างชาติเป็นปรากฏการณ์ระดับนานาประเทศ การเลือกปฏิบัติและอคติมีอยู่ทั่วไป
เลี่ยว เค๋อฟา ชี้ว่า การเลือกปฎิบัติต่อแรงงานต่างชาติในเขตพื้นที่มาเลเซีย สิงคโปร์ เนื่องมาจากภาษา
ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะได้เปรียบกว่า และเห็นว่าแรงงานต่างชาติที่มาจากมาเลเซียนั้นค่อนข้างเป็นระดับล่าง ในช่วงสิบปีมานี้
ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติจากประเทศจีนมีเพิ่มมากขึ้น เป็นภัยคุกคามต่อโอกาสการจ้างงานของชาวสิงคโปร์เอง
เวลานี้ถึงได้รู้สึกว่าชาวมาเลเซียค่อนข้างใกล้ชิดมากกว่า สิ่งนี้เป็นพฤติกรรมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบถึง
เป้าหมายนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์มีนิสัยใช้ภาพเดิมๆไปตัดสินคนนอกที่เข้ามา
ดังนั้นการเลือกปฎิบัติเป็นเพียงแค่กรอบๆหนึ่ง ก็ดูเอาว่าคุณจะนำไปใช้กับใคร.
ไต้หวันเป็นเสมือนบ้านหลังหนึ่ง
เขาคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันค่อนข้างสมบูรณ์
สามารถต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขาบนท้องถนนได้ เดินขบวน พบปะกันหรือทำหนังสือพิมพ์ได้
สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างมองไม่เห็นในพื้นที่ประเทศมาเลเซีย
เขาพบว่าไต้หวันได้จ้างผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาทำหน้าที่เป็นพนักงานบริการให้คำปรึกษา
ให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาแก้ไขปัญหาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ด้วยกันเอง วิธีนี้ดีมาก เพราะเริ่มจากมุมมองหรือภาษาของคนที่มาถึงก่อน
สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดีกว่า
ไปอยู่อาศัยมาสามประเทศ เลี่ยว เค๋อฟามีสามบ้านเช่นเดียวกัน เขากล่าวว่า "บ้าน " เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องไปสร้างไว้
เป็นเพราะชอบในสถานที่ ถึงอยากสร้างสถานที่นั้นให้เป็น "บ้าน "
และด้วยความกระตือรือร้นยังมีความอบอุ่นที่ต้องการช่วยเหลือผู้คนของคนไต้หวันอีก ทำให้เขาอยากสร้าง "บ้าน
"สักหลังขึ้นในไต้หวัน อาจเป็นเนื่องด้วยเหตุผลนี้ทำให้ไต้หวันเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และชาวต่างชาตินั่นเอง.