ประวัติความเป็นมาเทศกาลไหว้พระจันทร์ และประเพณีพื้นบ้านของประเทศอื่นๆ

เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลอันดั้งเดิมของประเทศจีน นอกจากการทานขนมไห้วพระจันทร์และส้มโอแล้ว
พระจันทร์ดวงกลมผู้คนกลมเกลียว ในขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมาชุมนุมกันอีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์

"จงชิว " คำนี้ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือโบราณของจีน "โจวหลี่" (หนังสือบันทึกระบบการเมืองราชวงศ์โจว
ระบบมารยาทสังคม และหน้าที่ของข้าราชการ) แต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวันไหนของเดือนสิงหาคม
มีนักวิชาการประเพณีพื้นบ้านเชื่อว่าแท้จริงแล้วจงชิวเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสมัยโบราณ
เพราะเดือนสิงหาคมตามทางปฎิทินจันทรคติจีนนั้นเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
ผู้คนจะกราบไหว้เทพเจ้าที่กัน.

มาในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลประจำกัน
ตามตำนานเป็นเรื่องราวการละเมอไปยังดวงจันทร์ของหยางกุ้ยเฟย
มาถึงราชวงค์ซ่งเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มต้นนิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน ถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เป็นเช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่
กลายมาเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของประเทศจีนไปแล้ว.

ตำนานของเทศกาลไหว้พระจันทร์

เกี่ยวกับตำนานของเทศกาลไหว้พระจันทร์ ที่คุ้นหูกันมากที่สุดคือ ฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์,อู๋กังฝากุ้ย
และการลุกขึ้นสู้ต่อต้านราชวงศ์หยวนของกษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์หมิง จูหยวนจาง เป็นต้น.

หนึ่งในตำนานของเทศกาลไหว้พระจันทร์...ฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์

ในสมัยโบราณมีนักรบคนหนึ่งชื่อ โฮ้วอี้ เป็นผู้ที่มีฝีมือมาก ยิงธนูขึ้นสู่ฟ้าเพียงดอกเดียวถูกดวงอาทิตย์ดับไป
9 ดวง จึงได้รับความชื่นชมจากผู้คนโดยทั่วไป และได้แต่งงานกับภรรยาสวยนางหนึ่ง นามว่าฉางเอ๋อ
อยู่มาวันหนึ่ง โฮ้วอี้ได้ยาอายุวัฒนะมา จึงได้มอบเอาไว้ให้ฉางเอ๋อเก็บรักษาดูแล วันหนึ่งโฮ้วอี้ออกไปล่าสัตว์
มีโจรใช้ดาบบังคับให้ฉางเอ๋อมอบยานั้นให้ ในสถานการณ์อันตื่นตกใจ ฉางเอ๋อได้กลืนยาลงไป
จากนั้นก็ลอยขึ้นสู่ดวงจันทร์ไปอย่างไม่รู้ตัว หลังจากที่โฮ้วอี้กลับมา จึงเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก
ทั้งคิดถึงผู้เป็นภรรยา จึงได้แต่วางโต๊ะเตากำยานเอาไว้กราบไหว้ฉางเอ๋อที่อยู่บนดวงจันทร์สว่างดวงนั้น.

ตำนานที่สองของเทศกาลไหว้พระจันทร์....อู๋กังฝากุ้ย

อู๋กังเป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ ได้พบเห็นฉางเอ๋อเข้าโดยบังเอิญ เกิดความรักไคร่ไหลหลงในตัวนาง
ซึ่งเทพเจ้าไม่สามารถมีอารมณ์ปราถนาได้ อู๋กังทั้งกลัวและต้องการเอาใจฉางเอ๋อ
ดังนั้นแล้วอู๋กังจึงได้ไปนั่งเล่นที่ตำหนักจันทราเป็นประจำนั่งแล้วก็นั่งนานเป็นวัน
เป็นผลให้เกิดการละเลยต่อหน้าที่ จึงถูกเง็กเซียนฮ่องเต้รับสั่งให้ไปทำงานจับกัง
หน้าตำหนักจันทรามีต้นอบเชยอยู่หนึ่งต้น จึงใช้ขวานตัด ตรงที่ถูกขวานตัดไปได้ปิดสนิทดั่งเดิมอีก
ตามตำนานว่า ผู้ที่ตัดต้นไม้ต้นนี้ ก็คืออู๋กัง นั่นเอง.

ตำนานที่สามเทศกาลไหว้พระจันทร์.....การลุกขึ้นสู้ต่อต้านของจูหยวนจาง

เทศกาลไหว้พระจันทร์ทานขนมไหว้พระจันทร์ ตามตำนานเริ่มต้นขึ้นในราชวงศ์หยวน
เวลาขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวน คนยากจนลุกขึ้นสู้ต่อต้านราชวงศ์หยวน
หนึ่งในจำนวนนั้น, จูหยวนจางเชื่อว่าต้องมีความสามัคคีร่วมกันต่อสู้ถึงจะสำเร็จลงได้
แต่รัฐบาลมีการค้นหาตัวกันอย่างกวดขัน การผ่านข้อความจึงยากลำบากมาก หลิวป๋อเหวิน
ที่ปรึกษาทางทหารของจูหยวนจางได้เสนอว่า ให้นำกระดาษ "คืนลุกขึ้นต่อต้าน15สิงหาคม" ใส่เอาไว้ภายในขนม
ค่อยให้คนนำส่งไปยังกองกำลังต่อต้านในแต่ละสถานที่ ถึงวันที่15 สิงหาคม
กองกำลังต่อต้านวันนั้นต่างตอบสนองพร้อมกัน ทำการล้มล้างราชวงศ์หยวนได้อย่างรวดเร็ว
จูหยวนจางได้มีคำสั่งให้นำขนมที่ใส่ข่าวสารลับนั้นมาใช้เป็นอาหารในโอกาสเทศกาลไหว้พระจันทร์
จากนั้นมาในหมู่ประชาชนจึงได้เริ่มนิยมทานขนมเทศกาลไหว้พระจันทร์กัน.

เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศในเอเซีย

เขตเอเซียเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีเป็นต้น
ต่างก็มีเทศกาลประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่ใกล้เคียงกัน.

เทศกาลไหว้พระจันทร์ในไต้หวัน

เทศกาลไห้วพระจันทร์เป็นเทศกาลหนึ่งในสามเทศกาลสำคัญของไต้หวัน ทั่วประเทศหยุดทำงาน 1 วัน
ขนมไหว้พระจันทร์และส้มโอเป็นอาหารที่ใช้ในโอกาสนี้ ประชาชนจะกลับบ้านชุมนุมพร้อมกัน นอกจากนี้
เนื่องด้วยเศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้น ทั้งยังได้รับอิทธิพลจากการโฆษณาและวัฒนธรรมอาหารตะวันตก
ประชาชนจึงมีการปิ้งย่างบาร์บีคิวกันในเทศกาลไหว้พระจันทร์อีกด้วย.

เทศกาลไหว้พระจันทร์ในเกาหลี

ชาวเกาหลีเรียกเทศกาลไห้วพระจันทร์ว่า "ชิวชี่"
ในสมัยโบราณ(สมัยเฉาเซียน)ถือว่าเป็นวันทำความสะอาดสุสานและไหว้บรรพบุรุษกัน
ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นเทศกาลใหญ่สำหรับชาวเกาหลี ซึ่งจะหยุดงาน 3 วันติดต่อกัน
ประชาชนจะพากันกลับไปเยี่ยมเยียนบ้านเกิด
ร้านค้าจะมีการลดราคากันเพื่อดึดดูดให้ผู้บริโภคมาหาซื้อของขวัญส่งให้กับญาติพี่น้อง ในภาษาอังกฤษนั้น
ได้เรียกเทศกาลไหว้พระจันทร์ในเกาหลีว่า "เทศกาลขอบคุณพระเจ้าของชาวเกาหลี" (Korean Thanksgiving Day )

เทศกาลไห้วพระจันทร์ในเวียดนาม

ชาวเวียดนามจะฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์กัน ตามปฎิทินจันทรคติจีนในวันที่15สิงหาคม มีบางคนเรียกว่า
"เทศกาลชมจันทร์ " ในขณะเดียวกันเทศกาลไหว้พระจันทร์ยังเป็นวันเด็กของชาวเวียดนามอีกด้วย ในคืนนั้น
เด็กๆจะรับฟัง "ตำนานของอากุ้ย " กับดูการแสดงเชิดสิงโต
และในคืนวันไหว้พระจันทร์จะพากันถือโคมไฟปลาคาร์พเดินไปทั่ว ให้รู้ว่าเมื่อเติบโตแล้วจะ
"พบแต่ความก้าวหน้า"

เทศกาลไหว้พระจันทร์ในญี่ปุ่น

เทศกาลไหว้พระจันทร์แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นถูกเรียกกันว่า คืนขึ้นสิบห้าค่ำ ชาวจีนทานขนมไหว้พระจันทร์กัน
แต่ชาวญี่ปุ่นกลับทานขนมโมจิทำจากแป้งข้าวจ้าว หรือเรียกกันว่า "เย่วเจี้ยนถ่วนจื่อ "
เหตุที่ว่าในฤดูใบไม้ร่วงถือเป็นฤดูที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแต่ละชนิดกัน
เพื่อที่จะขอบคุณของขวัญที่มาจากธรรมชาตินี้
ชาวญี่ปุ่นจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองต่างๆกันในการแสดงออกถึงความขอบคุณ นอกจากนี้
ชาวญี่ปุ่นจะพากันชมจันทร์อีกด้วย เรียกกันว่า "พบจันทร์ " (เย่วเจี้ยน)

สำหรับชาวเอเซียเทศกาลไหว้พระจันทร์กล่าวได้ว่า ต่างเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่สำคัญมากทีเดียว
นอกเหนือจากมีการชมจันทร์ ทานขนมไหว้พระจันทร์และอยู่พร้อมหน้ากันกับครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งที่ปฎิบัติกันแล้ว
ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนี้ ต่างก็มีงานสร้างสรรค์ทางศิลปะมากมายที่อธิบายถึงเทศกาลฤดูใบไม้ร่วงไว้
เช่นภาพวาด บทกวีเป็นต้น หากเพียงแต่ศึกษาและให้ความสนใจสักเล็กน้อยก็จะพบว่า
แท้จริงแล้วเทศกาลฤดูใบไม้ร่วง รวมไปด้วยภูมิปัญญาและผลแห่งความพยายามของคนจีนสมัยโบราณเอาไว้
ในขณะที่ทานขนมไหว้พระจันทร์และปิ้งย่างบาร์บีคิวกันนั้น ก็ควรให้ความเคารพต่อบรรพบุรุษ
ในขณะที่เงยหน้าขึ้นมองดวงจันทร์ ก็ควร "ก้มหน้าคิดถึงบ้านเกิด " ด้วยเช่นกัน.